วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

 

 

 พัฒนาแรงงานไทยอย่างไรให้ยั่งยืน

13 ความคิดเห็น:

  1. ผู้ใช้แรงงาน ถือเป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตอยู่ได้ เพื่อเป็นการยกย่อง และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ดังนั้นสังคมโดยเฉพาะภาครัฐ ควรจะให้การคุ้มครองดูแลทั้งเรื่องคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2555 เวลา 05:58

    การพัฒนาคุณภาพของแรงงานนอกระบบด้านการศึกษา น่าจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหาแรงงานนอกระบบของประเทศ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2555 เวลา 06:06

    เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ต้องแข่งขันกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แรงงานซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของระบบ จึงมีส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจของไทยให้เจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน ประเทศที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานได้เป็นอย่างดี ก็เปรียบเสมือนการมีรากฐานทางเศรษฐกิจ ที่แข็งแรงและมั่นคงด้วย

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2555 เวลา 06:55

    ในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2556 นี้ ผมเชื่อว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานจะช่วยให้แรงงานไทยมีสุขภาพดี มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นสังคมที่น่าอยู่และมีระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2555 เวลา 07:18

    หากไทยเราขาดการเตรียมตัวให้พร้อม ในระยะยาวอาจต้องพบกับความพ่ายแพ้กับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งกำลังกวดตามมาติดๆ เช่น ในเวียตนาม แม้ในปัจจุบันมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ต่ำกว่าไทยก็จริง แต่เวียตนามมียุทธศาสตร์เพื่อรองรับสภาวะการณ์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษา การพัฒนาทักษะแรงงาน นับว่ามีการปรับตัวเป็นอย่างดี

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2555 เวลา 21:01

    คุณอรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน อธิบายว่า แรงงานในระบบมีจำนวนกว่า 9 ล้านคนจากแรงงานทั้งหมดที่มีกว่า 36 ล้านคน โดยที่เหลือเป็นแรงงานนอกระบบกว่า 24 ล้านคน และยังเป็นแรงงานนอกระบบที่เป็นแรงงานข้ามชาติด้วยเช่นกันอีกกว่า 2-3 ล้านคน
    นอก จากนี้เธอยังเสนอแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในไทยว่า ในส่วนของการเพิ่มศักยภาพพทักษะในการทำงานให้มากขึ้นกว่าเดิม ให้เป็นแรงงานที่านที่เชี่ยวชาญ เมื่อเป็นแรงงานที่มีคุณภาพแล้วก็จะทำให้การถูกเลิกจ้างรถกเลิกจ้างที่เป็น ปัญหาอยู่ทุกวันนี้ลดลง และสร้างแรงจูงใจในเรื่องค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2555 เวลา 21:09

    อุบัติเหตุจากการทำงาน การสัมผัสฝุ่น กลิ่น ควันจากที่ทำงาน การได้รับสารเคมีเป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งหากปัญหานี้ไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอจะส่งผลบั่นทอนรากฐานทางเศรษฐกิจของ ประเทศได้ ขณะที่การผลักดันเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหานี้ ยังทำได้ไม่เต็มที่ เพราะยังขาดข้อมูลสำคัญในหลายๆ ด้าน สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปพร้อมกัน จึงต้องมีระบบเฝ้าระวังและระบบข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2555 เวลา 21:25

    ขณะนี้โจทย์ที่ยากที่สำคัญมากของประเทศในทศวรรษหน้า (12 ปี) คือ ปัญหาเศรษฐกิจโตยากกับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม ประชากรไทย จะสร้างเศรษฐกิจ ให้โตได้อย่างไร? ภาวะสังคมอย่างนี้ จะสร้างสวัสดิการ "ให้เกิดความยั่งยืน" ไม่ให้ประเทศเราล้มละลายได้อย่างไร? ให้เกิดความพอดี พอเพียงและยั่งยืน

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ12 กันยายน 2555 เวลา 07:22

    ปัจจุบันประเทศไทย มีการพัฒนาศักยภาพให้แก่ทรัพยากรบุคคลทางด้านแรงงานในประเทศ และส่งออกแรงงานฝีมือไปสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างชาติมาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ตลาดแรงงาน การส่งออกแรงงานฝีมือของไทยช่วงที่ผ่านมานั้น มีผู้ประกอบการและนายจ้างจากต่างประเทศที่ต้องการแรงงานฝีมือของไทยไปทำงานด้วยอยู่ตลอด ซึ่งถือได้ว่าแรงงานไทยเป็นสินค้าส่งออกยอดนิยมของประเทศอีกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ12 กันยายน 2555 เวลา 07:24

    อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.) กระทรวงแรงงาน มีนโยบายในการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนให้แก่แรงงานไทย เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปีพ.ศ.2558 ซึ่งจะมีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
    ซึ่ง กระทรวงแรงงาน เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาฝีมือแรงงานและสร้างศักยภาพให้แก่แรงงานฝีมือของไทย ได้เล็งเห็นปัญหาสำคัญที่สร้างความลำบากให้แก่แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ จึงได้จัดตั้ง “โครงการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนให้แก่แรงงานไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน” โดยต้องการเพิ่มทักษะด้านภาษาให้แก่แรงงานไทยและพัฒนาศักยภาพแรงงาน รวมทั้งสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ภาษาของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ12 กันยายน 2555 เวลา 07:29

    ซึ่งการสร้างแรงงานที่มีคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบจะต้องมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยส่งเสริมทักษะให้แก่แรงงานไทย ทั้งในด้านของการฝึกทักษะฝีมือแรงงานและการสร้างเสริมศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อให้ได้รับความรู้และมีประสบการณ์ให้ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยได้เดินหน้าและพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการเพิ่มมาตรฐานด้านแรงงานเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2555 เวลา 01:30

    ในระยะเวลาอีกไม่นานต่อจากนี้ ประเทศไทยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีเป้าหมายหลักที่จะให้ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรืออาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ ๆ ในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของสินค้า บริการ แรงงานและการลงทุนอย่างเสรี รวมทั้งลดช่องว่างของระดับการพัฒนาภายในกลุ่ม อันจะนาไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ ซึ่งนับเป็นความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญที่ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งต่อไทยและต่อเพื่อนสมาชิกที่เหลือในอีก 9 ประเทศ

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2555 เวลา 01:39

    เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ก็กังวลว่าแรงงานฝีมือต่างชาติจะเข้ามาแย่งงานคนไทย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้มีการตกลงมาตรฐานกลางของ 8 สาขาที่จะเปิดเสรีแล้ว เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวะ สาขาท่องเที่ยวและการบริการ ส่วนสาขาอื่นๆนั้นขณะนี้กระทรวงแรงงานได้เร่งจัดทามาตรฐานชาติให้ได้มากที่สุด เพราะหากไม่มีการกาหนดมาตรฐานของแต่ละประเทศ แรงงานไร้ฝีมือก็จะเข้าประเทศง่ายขึ้น


    ตอบลบ