วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การใช้แรงงานเด็ก





คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก

21 ความคิดเห็น:

  1. ความรู้สึกของเด็กในฐานะที่เป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว ความตระหนักในความเสี่ยง ความต้องการด้านการศึกษาและ/หรือสัมฤทธิ์ผลด้านนี้ และความต้องการเกี่ยวกับอนาคต หรืออาชีพในอนาคตของเด็กกลุ่มนี้ สิ่งเหล่านี้บ่งบอกอะไรแก่สังคมไทย บทบาทของรัฐและ/หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร หรือมีมุมมองอย่างไรต่อเด็ก

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:23

    ปัญหาแรงงานเด็กเป็นปัญหาที่สังคมที่มีผลกระทบมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดความสมดุล การป้องกัน และ แก้ไขจึงต้องมีมาตรการที่เป็นระบบและครบวงจรตั้งแต่การรณรงค์มิให้เด็กต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร การสร้าง โอกาสและทาง เลือกในการศึกษาและการประกอบอาชีพแก่แรงงานเด็ก การป้องกันมิให้ถูกหลอกลวง จนถึงการคุ้มครอง มิให้มี การใช้แรงงานเด็กที่ไม่เป็นธรรม อันเป็นการดำเนินมาตรการทั้งในเชิงป้องกัน คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนา และเน้นการประสาน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนดึงเอาชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:59

    การใช้แรงงานเด็กในประเทศไทยเกิดจากเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมีผลต่อการใช้แรงงานเด็กน้ำท่วมทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการหาทางลดต้นทุนในการผลิตโดยการจ้างงานแบบเหมาจ่ายและให้รับงานไปทำที่บ้านอาจทำให้มีการใช้แรงงานเด็กมากขึ้น

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ13 กรกฎาคม 2555 เวลา 07:42

    แงานเด็กในประชาคมอาเซี่ยนเราต้องถูกกล่าวหากฎระเบียบของแรงงานเด็กต่างเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียค่าจ้างมากเพราะงานเด็กนั้นมีความอดทนน้อยเขาเอวเปรียบได้ง่ายนัก

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ13 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:09

    ปัญหาแรงงานเด็ก เป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม หรือปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย ทำให้เด็กเหล่านั้นเสียโอกาสทางการศึกษา ขาดโอกาสในการที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต และที่สำคัญคือได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการตามวัย ซึ่งเป็นผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ต่อชีวิตข้างหน้าด้วย
    (ปุ๊ บางซ่อน)

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2555 เวลา 07:58

    สำหรับแรงงานเด็กในไทยถือว่ายังมีอีกมากครับในการใช้ในทางที่ผิดเพราะเราต้องเอาเข้ามาจากแรงงานต่างด้าวด้วยแล้วยิ่งสบายใหญ่ค่าแรงถูกเรายังมีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องน้อยต้องมีความเสียสละมาก ทั้งแรงกายแรงใจ เสียสละต่องทุกคนในสังคม ต้องเข้มแข็งและเสี่ยงอันตรายมากต่อการคุกคามจาก ผู้มีอิทธิพลด้วย

    ตอบลบ
  7. การใช้แรงงานเด็ก
    แรงงานเด็ก
    “ แรงงานเด็ก ” หมายถึง ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
    การใช้แรงงานเด็ก
     ห้ามจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าทำงาน
     การจ้างลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
    - แจ้งการจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน
    - ทำบันทึกสภาพการจ้าง กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเลาทำการ
    - แจ้งสิ้นสุดการจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน
     นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างเด็กมีเวลาพักวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงติดต่อกันหลังจากที่ทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง แต่ใน 4 ชั่วโมงนั้น ให้ลูกจ้างเด็กได้มีเวลาพักอีกตามที่นายจ้างกำหนด
    เวลาทำงานปกติ
    • งานทั่วไปไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน แต่ต้องไม่เกิน 9 ชั่วโมง/วัน และ ไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
    เวลาพัก
    • กำหนดเวลาพักระหว่างทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้าง อาจตกลงกันล่วงหน้าพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง/วัน
    วันเวลาที่ห้ามลูกจ้างเด็กทำงาน
    ห้ามลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทำงานระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึง 06.00 นาฬิกา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
    นายจ้างอาจให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กและเป็นผู้แสดงภาพยนตร์ ละคร หรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันทำงานในระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึง 06.00 นาฬิกา ได้ ทั้งนี้ ให้นายจ้างจัดให้เด็กพักผ่อนตามสมควร
    วันหยุด วันหยุดประจำสัปดาห์
     นายจ้างต้องจัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน โดยกำหนดให้มีระยะห่างไม่เกิน 6 วัน
     นายจ้างต้องจัดให้มีวันหยุดตามประเพณีปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ และต้องกำหนดวันหยุดดังกล่าวจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น

    ตอบลบ
  8.  นายจ้างต้องประกาศวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า และต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน
     นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดชดเชยวันทำงานถัดไป กรณีวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์
     ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าหรือตามแต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกัน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ทั้งนี้นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมหรือเลื่อนวันหยุกพักผ่อนประจำปีได้
    วันลา สิทธิการลา
     การลาป่วย นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงและต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างวันทำงาน ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน ทั้งนี้ วันลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ก็ได้ แต่ถ้าลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
     การลาทำหมัน นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างลาทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และออกใบรับรอง โดยต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าว
     การลากิจ ลูกจ้างลากิจเพื่อธุระอันจำเป็นได้ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
     การลาเพื่อคลอดบุตร นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหญิงลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน ไม่ว่าลูกจ้างจะทำงานเป็นระยะเวลาเท่าใดก็ตาม โดยลูกจ้างนั้นไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์
     การลาเพื่อรับราชการทหาร ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 60 วันต่อปี
     การลาเพื่อฝึกอบรม นายจ้างต้องให้ลูกจ้างลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ตามที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น โดยลูกจ้างต้องแจ้งถึงสาเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง พร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลา นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างหรือไม่ก็ได้ ตามที่กำหนดไว้หรือตามที่มีการตกลงกัน
    งานที่ห้ามลูกจ้างเด็กทำ
    o ห้ามลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
    o งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
    o งานปั๊มโลหะ
    o งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็ย ความสั่นสะเทือน เสียง และแสง ที่มีระดับแตกต่างจากปกติ อันอาจเป็นอันตราย
    o งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย
    o งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้อโรคต่าง ๆ
    o งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ
    o งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่น
    o งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
    o งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องภูเขาไฟ
    o งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
    o งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ ขณะที่เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กำลังทำงาน
    o งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
    o งานในเรือประมง (กรณีอายุต่ำกว่า 16 ปี)
    สถานที่ห้ามลูกจ้างเด็กทำงาน
     โรงฆ่าสัตว์
     สถานที่เล่นการพนัน
     สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
    อัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ยก แบก หาม ทูน ลาก หรือเข็นของหนัก ไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลุกจ้างหนึ่งคน
     20 กิโลกรัม สำหรับลูกจ้างเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี
     25 กิโลกรัม สำหรับลูกจ้างเด็กชายอายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี
    ในกรณีน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนดนี้ ให้นายจ้างจัดให้มีและให้ลูกจ้างใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม และ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
    การจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเด็ก
     ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างเด็กให้แก่บุคคลอื่น
     ห้ามเรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้างเด็ก

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ15 กรกฎาคม 2555 เวลา 07:20

    ต้องมีการบังคับใช่กฎหมายอย่างจริงจังสำหรับผู้ที่ใช่แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมายเจ้าหน้าที่ต้องเข็มงวดกวดขันอย่าวจริงจังให้มากกว่านี้

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ16 กรกฎาคม 2555 เวลา 22:12

    สำหรับในประเทศไทย จากการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา ประมาณสี่ทศวรรษ ก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในการดำรงชีวิตระหว่างคนในสังคมเมืองกับคนในชนบท ความไม่สมดุลในการกระจายรายได้ ส่งผลให้ประชาชนในชนบทต้องอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองและในจำนวนนี้ก็มีแรงงานเด็กที่อพยพเข้ามากับพ่อแม่
    ผู้ปกครอง หรือมาตามลำพังเพื่อหางานทำช่วยเหลือครอบครัว ในขณะเดียวกันการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมทำให้สถานประกอบกิจการขนาดเล็กต้องการลดต้นทุนด้วยการจ้างแรงงานราคาถูก แรงงานเด็กจึงเข้ามาสนองความต้องการของตลาดแรงงานราคาถูก ปัญหาการใช้แรงงานเด็กจึงเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดปัญหาการหลอกลวงหรือทำร้ายทารุณใช้แรงงานเด็กอย่างผิดกฎหมายไม่เป็นธรรม

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ16 กรกฎาคม 2555 เวลา 22:18

    ปัญหาแรงงานเด็กเป็นปัญหาที่สังคมที่มีผลกระทบมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดความสมดุล การป้องกัน และ แก้ไขจึงต้องมีมาตรการที่เป็นระบบและครบวงจรตั้งแต่การรณรงค์มิให้เด็กต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร การสร้าง โอกาสและทาง เลือกในการศึกษาและการประกอบอาชีพแก่แรงงานเด็ก การป้องกันมิให้ถูกหลอกลวง จนถึงการคุ้มครอง มิให้มี การใช้ แรงงานเด็กที่ไม่เป็นธรรม อันเป็นการดำเนินมาตรการทั้งในเชิงป้องกัน คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนา และเน้นการประสาน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนดึงเอาชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไข

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ16 กรกฎาคม 2555 เวลา 22:32

    เด็กคือ บุคคลที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่เต็มที่ ดังนั้น เด็กจึงไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ แต่เด็กคือบุคคลที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตไปสู่สภาพการเป็นผู้ใหญ่ เต็มตัว ดังนั้น ช่วงที่อยู่ในวัยเด็ก บุคคลควรได้รับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมอย่างเหมาะสม จึงจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ สมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมได้ อย่างไรก็ตามพบว่า มีเด็กในโลกอีก จำนวนมากที่ต้องทำงาน จะเป็นด้วยปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม หรือปัญหาอื่นๆ ร่วม ด้วย ทำให้เด็กเหล่านั้นเสียโอกาสทางการศึกษา ขาดโอกาสในการ ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพชีวิต ที่ดี ใน อนาคต และที่สำคัญคือ ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการตามวัย ซึ่งเป็นผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ต่อชีวิตข้างหน้าด้วย

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:04

    แนวโน้มการใช้แรงงานเด็กในสังคมบ้านเรา นับวันยิ่งส่อเค้า กดขี่ ย่ำยี ขืนใจ ล่อลวง ใช้กลุ่มเด็ก ทุกรูปแบบเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ สถานการณ์สังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการใช้แรงงาน เด็ก ความพยายามลดต้นทุน มีการจ้างงานแบบเหมาช่วงและรับงานไปทำที่บ้าน มีส่วนทำให้มีการใช้แรงงานเด็กเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้แรงงานเด็กต่างชาติชาว พม่า เขมร และลาว ซึ่งเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็ก และงานรับใช้ตามบ้าน แน่นอนว่า กลุ่มเด็กหญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกชักนำเข้าสู่งานบริการทางเพศ ช่วงที่กระแสสังคมเรียกร้องให้เลิกซื้อ อุดหนุนเด็กขายพวงมาลัย ขายสินค้าตามสี่แยกต่างๆ ในเขตเมืองเชียงใหม่ และบรรดาร้านอาหาร สถานบันเทิง มีการใช้มาตรการกดดันทางสังคมทุกรูปแบบก็ห่างหายเงียบไปสักระยะ อีกไม่นานก็จะโผล่มาหลอกหลอนสังคมที่เมตตา เอื้ออาทร แต่เป็นการฝังรากฐานขบวนการใช้แรงงานเด็กกระจัดกระจายไปทุกหนแห่งมากขึ้น ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของ การใช้แรงงานเด็ก เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นผลให้ประเทศไทยมีพันธะสัญญาที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว มาตรา 6 กำหนดให้สมาชิกแต่ละประเทศต้องกำหนดและปฏิบัติตามแผนฯถือเป็นภารกิจสำคัญ เร่งด่วน ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศตั้งเป้าว่าในปี 2559 ปัญหานี้ต้องสิ้นสูญไปจากโลก

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:06

    สร้างความเข้มแข็งในชุมชนให้เกิดการพึ่งพาตนเอง และไม่ต้องอพยพเข้ามาขายแรงงานในเมือง
    เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานเด็ก ปัญหาที่แรงงานเด็กในชุมชนประสบ ด้วยรูปแบบสื่อ วิทยุชุมชน ที่ชาวบ้านในชุมชนสามารถเปิดรับคลื่นได้ตามช่องสัญญาณท้องถิ่น เป็นของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน จะสามารถกระจายข่าวสารให้ความรู้แก่คนในชุมชนในเรื่องปัญหาการส่งเด็กไปทำงานในเมือง ว่าเด็กประสบปัญหาอย่างไรบ้าง เพื่อให้คนในชุมชน เข้าใจ รู้ทันปัญหา และสามารถหาทางแก้ไขได้

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:48

    เด็กก็คือเด็กเรายังไม่ควรใช้แรงงานเด็กแต่บางที่ค่าแรงงานถูกกว่าและชอบลักลอบทำกันและบางที่เด็กต้องจำเป็นต้องทำงานด้วยเป็การหารายได้ด้วยช่วยเหลือพ่อแม่ครับอย่างนี้จะว่ายังไง

    ตอบลบ
  16. กฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทยนั้นระบุชัด "ห้ามมีการจ้างแรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี" และหากเด็กมีความจำเป็นต้องเข้าสู่ตลาดแรงงาน ก็มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ "การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี" ที่นายจ้างจะต้องแจ้งการจ้าง และการสิ้นสุดการจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน

    ตอบลบ
  17. “ในขณะที่เราควบคุมเรื่องการใช้แรงงานเด็กของไทยได้ แต่ปัญหาการใช้แรงงานเด็กที่เกิดขึ้นคือ นายจ้างหันไปใช้แรงงานเด็กต่างด้าวกันมากขึ้น เพราะเพราะคนเหล่านี้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย”

    ตอบลบ
  18. สำหรับปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาการให้ความคุ้มครองแรงงานเด็กได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือ การใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งการขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งจะช่วยชะลอการเข้าสู่ตลาดแรงงานของเด็กออกไป

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ1 สิงหาคม 2555 เวลา 18:43

    องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) ได้ดำเนินการให้มีวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยมุ่งความสนใจที่ประเด็นของแรงงานเด็ก ความพยายามและการดำเนินการทั่วโลกที่จะยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยในวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และประชาชนทั่วไปนับล้านคนจากทั่วโลก จะรวมพลังเพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะยุติการใช้แรงงานเด็ก

    ตอบลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ23 สิงหาคม 2555 เวลา 17:22

    เมื่อช่วงปี 54 ที่ผ่านมาประเทศไทยกลับต้องมาเผชิญกับความท้าท้ายใหม่เมื่อ "สหรัฐอเมริกา" ได้จัดให้ "ไทย"เป็นประเทศที่มีระดับความรุนแรงของ "ปัญหาการค้ามนุษย์" อยู่ในกลุ่มที่ 2 ที่ต้องจับตามอง หมายความว่า เป็นประเทศที่ถูกจับตามองด้วยเหตุผลว่ายังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่เพียงพอในการดำเนินคดีและลงโทษผู้ค้ามนุษย์

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ29 สิงหาคม 2555 เวลา 19:21

    แรงงานเด็ก คือ ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 18 ปี ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมา ห้ามนายจ้างจ้างเป็นลูกจ้างโดยเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษ ตามมาตรา 148 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 200,000.-บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ถือว่าไม่ใช่แรงงานเด็ก

    ตอบลบ