จากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่องที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบตามมาหลายอย่างทั้งในตัวแรงงานเอง ที่ได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องถูกปรับลดค่าโอที และสวัสดิการลง โดยที่ผู้ประกอบการใช้เป็นข้ออ้างเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ขณะที่มีนำไปเพิ่มราคาสินค้าขึ้นตามไปด้วย
หลังจากปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 แล้ว อาจมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะกระทบการจ้างงานในท้องถิ่นโดยตรง เพราะผู้ประกอบการโรงงานต่างๆ จะย้ายฐานผลิตมาอยู่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง
ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นมานั้น ขณะนี้ได้เกิดเป็นปัญหาขึ้นมาอย่างหลากหลายเลยทีเดียว มีรายงานข่าวว่านายจ้างใช้วิธีการพลิกแพลงรวบยอดค่าตอบแทนอื่นๆเอามารวมกับยอดที่จะต้องจ่ายวันละ 300 บาท จึงทำให้ผู้ใช้แรงงานบักโกรกไปตามกัน เพราะรายได้ไม่เพิ่มหรือเพิ่มแต่ไม่มาก แต่ข้าวของทั้งของกินของใช้ราคาแพงขึ้นท่วมหัวไปหมด เดือดร้อนไปตามกัน
การขึ้นค่าแรง ควรคำนึงถึงความเหมาะสมหลายอย่าง เช่น ค่าครองชีพ ประสบการณ์ทำงาน ฝีมือของแรงงาน สวัสดิการ ขวัญและกำลังใจของแรงงาน ตลอดจนความพร้อมของผู้ประกอบการด้วย
วันนี้ธุรกิจในประเทศไทยมีการรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน 20-30%ของทั้งประเทศ ซึ่งวันนี้ที่มีการประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แต่แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ไม่ได้ถูกปรับขึ้นตามไปด้วย จึงมีผลกระทบไม่มาก แต่สิ่งที่น่าจับตาต่อจากนี้ คือการเปิดประเทศของหลายๆ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า จุดนี้ก็อาจทำให้แรงงานพม่าบางส่วนย้ายกลับไปทำงานในประเทศของตน เรื่องนี้อาจมีผลต่อบริษัทไทยที่เน้นใช้แรงงงานต่างด้าวจำนวนมาก ก็จะมีความเสี่ยงไปด้วย เพราะเมื่อแรงงานต่างด้าวที่ค่าแรงน้อยกว่ามีน้อยลง บริษัทก็ต้องมองหาแรงงานไทย และต้องยอมรับกับต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
แม้ว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทจะส่งผลดีต่อการใช้จ่ายภายในระเทศ จากการที่กลุ่มแรงงานที่มีรายได้ต่ำที่ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมแนวโน้มจะจับจ่ายใช้สอยมากเมื่อมีระดับรายได้เพิ่มขึ้น แต่ทุกนโยบายก็มีข้อด้อยที่ผู้กำหนดนโยบายต้องพิจารณาเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลควรต้องหาแนวทางป้องกันผลกระทบต่อภาคการผลิต และแรงงานกันครับ
การปิดกิจการและปัญหาการเลิกจ้าง เนื่องจากนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
การขึ้นค่าแรงดีแล้วเพราะอะไรเป็นการทำให้มีการเคลี่อนไหวหลายอย่างของการทำให้เกิดการเอาเปรียบค่าแรงมานานมากทำอย่างไรก็ขึ้นราคาอยู่ดีครับมันเป็การเพิ่มอำนาจกำลังซื้อลดต้นทุนแต่มีคนขวางอยู่ขนาดกลางก็มีผลเราต้องคำนึงถีงรายได้ของเรา
น่าจะมีมาตั้งนานแล้ว ก็แค่กำไรมันน้อยลง..............เคยคิดบ้างไหมว่าเสียแรงงานไปเท่าไร...........เพื่อสร้างกำไรให้พวกนักลงทุน.........คิดดีๆละกัน.......ถ้าทำงานแต่ค่าแรงไม่เพิ่มใครจะอยากทำ บางครั้งการเปลี่ยนแปลงก็ทำให้อะไรดีขึ้นแต่อาจต้องใช้เวลา
ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็ไม่ได้หลอกครับพอเพิ่มค่าแรงก็ขึ้นราคาของอยู่ดีครับเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากเกินไปนี้ถ้าขึ้ไปอีกจะขึ้นไปอีกครับ
ผลด้านบวก1. ผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่ม ทำให้มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยหรือกำลังซื้อเพิ่ม2.ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานที่มีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น เพื่อให้คุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน3.ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงาน ทั้งในระดับไร้ฝีมือ และมีฝีมือ ขณะที่อัตราการว่างงานโดยรวม ณ เดือน พ.ค. 2554 อยู่ในระดับ 0.7-0.8% ทำให้มีแนวโน้มที่จะต้องปรับเพิ่มค่าจ้างอยู่แล้วผลด้านลบ ราคาสินค้าและบริการอาจสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมาตรการที่ต้องทำควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เช่น การปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน เช่น ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือขนาดกลาง , SMEs ที่จำเป็นต้องใช้แรงงานกึ่งฝีมือหรือมีประสบการณ์ การจูงใจภาคธุรกิจในการปรับเพิ่มค่าแรง เช่น การลดภาษีรายได้นิติบุคคล (สำหรับ SMEs มักมีปัญหาไม่ได้เข้าสู่ระบบภาษีหรืออยู่ในภาวะขาดทุน) , การหักคืนภาษี (tax credit) การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน อาจต้องจัดการอบรมแบบเฉพาะทางให้กับธุรกิจแต่ละสาขา (tailor-made) สำหรับลูกจ้างรายเดิม หรือการอบรมเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานของแรงงานรายใหม่
ผมว่าค่าแรงเราต่ำมากกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้รู้สึกว่าชีวิตเราราคาถูก ทั้งๆที่เราก็ทำงานได้ดีไม่น้อยกว่าใคร
คุณ Champ: งานนี้ก็เพื่อผู้ใช้แรงงาน/ผู้มีรายได้น้อย เป็นหลักละครับ
เพื่อคนที่ด้อยกว่าเราค่ะ ค่าครองชีพเราสูงกว่า พม่าและเวียดนามนะคะ
แพงทั้งแผ่นดิน แต่เค้าไม่คิดว่าแรงงานยอดฝีมือประสบการณ์ 10ปี กับ 1st day ก็จะได้ 300 เท่ากัน คนงานเก่าจะไม่มีอารมทำงาน หรือลาออกไปเลย และ คนงานใหม่ก็ไม่รู้สึกว่าจะต้องพัฒนาตัวเองไปทำไมได้เท่ากัน มันทำให้ระบบเสีย เพราะบริษัทไม่มีทางจะปรับทั้งระบบ เอาแค่พ้นกฏหมายละ
ไม่เห็นประโยชน์ของนโยบายนี้เลยค่ะ ทุกอย่างได้ปรับราคาขึ้นรอไว้แล้วตั้งแต่ค่าแรงยังไม่ขึ้น และจะปรับเพิ่มอีกรอบเมื่อค่าแรงขึ้น เพราะต้นทุนที่สูงขึ้น ประกอบกับจะทำให้เกิดการจ้างงานที่ต่ำลบด้วย จะเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือเท่านั้น หรือมองในโลกความเป็นจริง แรงงานไทยอาจจะตายไปเลยก็ไดั เพราะแรงงานต่างชาติค่าจ้างทั้งถูกกว่าและคุณภาพดีกว่าค่ะ
การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนั้น ถือเป็นนโยบายที่ดีในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนนโยบายใดๆ อย่างฉับพลัน เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันให้ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ (Shock) ทั้งนี้ ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Smooth Adjustment) ย่อมจะดีกว่า Shock ในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น อุดหนุนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้ประกอบการทันทีในปีแรก และทยอยลดเงินอุดหนุนแบบขั้นบันได หลังจากที่ผู้ประกอบการปรับตัวได้ สนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน สนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร และการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานที่เข้มข้นให้ย้ายฐานการผลิตไปสู่เขตเศรษฐกิจชายแดนเพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน
ปัจจุบันไทยมีตำแหน่งงานว่างอยู่ประมาณ 3 ล้านอัตรา หากแรงงานไม่เลือกงาน ก็เชื่อว่าปัญหาการว่างงานก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่หลังจากการปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำแล้ว แรงงานก็ต้องทำงานให้คุ้มค่า มีความขยัน และต้องหมั่นเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ
ผมคิดถูกมั้ยหว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่ม ของต่างๆ ก็จะแพงขึ้น สำหรับคนได้ค่าจ้างไม่ถึง 300 อยู่แล้วก็ได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น แต่สำหรับคนได้เกิน 300 อยู่แล้ว จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ตอนนี้เห็นแต่เสียประโยชน์ เพราะค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ใครช่วยชี้แนะทีครับ
ใจคอจะหากินกับการกดค่าแรงคนงาน ไปตลอดชาติหรือไง เจ้าของกิจการไม่คิดจะปรับตัวไปผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาสูงขึ้นหรือครับ จะได้คุ้มกับค่าแรงของแรงงานที่มีคุณภาพ ที่เกาหลีค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 150 บาท ย้ำอีกครั้ง ชั่วโมงละ 150 บาท คนเกาหลีก็ยังอยู่กันได้ อย่างสุขสบายตามอัตภาพ ซึ่งปัจจุบันเกาหลีขาดแคลนแรงงาน ต้องจ้างแรงงานต่างชาติ ไทย เขมร เวียตนาม อินโด ไปทำงาน ประเทศเกาหลีก็ยังอยู่ได้ ฝากไว้ก่อนไป " ค่าครองชีพต่ำ นั่นหมายถึง คุณภาพชีวิตต่ำไปด้วยนะครับ " ลองคิดดูดีๆ
ค่าแรงจะสูงกว่า พม่า 9 เท่าค่าแรงจะสูงกว่า เวียดนาม 3-4 เท่ายินดีกับ "พม่า" และ "เวียดนาม" ด้วยครับสำหรับ "โรงงาน" ที่จะไปตั้งอีกมากมาย ในเร็ว ๆ นี้
อยากให้กระชากค่าครองชีพแบบที่เคยหาเสียงด้วยครับ
โดยส่วนตัวผมชอบนโยบายที่มีแรงต้านเยอะๆ และมีกล้าที่จะเดินนโยบายนั้นได้ กล้าตัดสินใจ กล้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ผลเป็นอย่างไรผมขอให้ออกมาดีละกัน เพราะผมไม่แน่ใจว่าผลดีในระยะต่อไป จะเทียบได้กับผลเสียที่ดูกันผิวเผินรึป่าว
จากกรณีค่าจ้างแรงงานวันละ 300 บาท ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้าง ซึ่งเริ่มมีผลใน 7 จังหวัด ตามที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ นั้น แน่นอน ย่อมสร้างความปลาบปลื้มยินดีให้กับพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนไม่น้อย ที่อาจไม่สามารถอดทนรอกับการขึ้นอัตราค่าจ้างในลักษณะเป็นเปอร์เซ็นต์อีกต่อไปได้ แต่แน่นอน ความจริงแท้ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ ในซีกของฝ่ายนายจ้าง นโยบายค่าจ้าง 300 บาท น่าจะเปรียบเสมือนไม้ทิ่มแทงหัวใจของนายจ้างหลายราย ที่ต่างบ่นร้องออกมา แสดงความไม่เห็นด้วย คัดค้านโดยมองว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลให้นายจ้างเกิดความเดือดร้อน กำไรในกระเป๋าที่ต้องได้เท่าเดิมเป็นอย่างน้อยหรือควรต้องมากขึ้นทุกปี อาจจะต้องลดน้อยถอยลงไปบ้าง อะไรทำนองนั้น
จากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่องที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบตามมาหลายอย่างทั้งในตัวแรงงานเอง ที่ได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องถูกปรับลดค่าโอที และสวัสดิการลง โดยที่ผู้ประกอบการใช้เป็นข้ออ้างเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ขณะที่มีนำไปเพิ่มราคาสินค้าขึ้นตามไปด้วย
ตอบลบหลังจากปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 แล้ว อาจมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะกระทบการจ้างงานในท้องถิ่นโดยตรง เพราะผู้ประกอบการโรงงานต่างๆ จะย้ายฐานผลิตมาอยู่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง
ตอบลบประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ตั้งแต่
ตอบลบวันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นมานั้น ขณะนี้ได้เกิดเป็นปัญหาขึ้นมาอย่าง
หลากหลายเลยทีเดียว มีรายงานข่าวว่านายจ้างใช้วิธีการพลิกแพลงรวบ
ยอดค่าตอบแทนอื่นๆเอามารวมกับยอดที่จะต้องจ่ายวันละ 300 บาท จึง
ทำให้ผู้ใช้แรงงานบักโกรกไปตามกัน เพราะรายได้ไม่เพิ่มหรือเพิ่มแต่
ไม่มาก แต่ข้าวของทั้งของกินของใช้ราคาแพงขึ้นท่วมหัวไปหมด เดือด
ร้อนไปตามกัน
การขึ้นค่าแรง ควรคำนึงถึงความเหมาะสมหลายอย่าง เช่น ค่าครองชีพ ประสบการณ์ทำงาน ฝีมือของแรงงาน สวัสดิการ ขวัญและกำลังใจของแรงงาน ตลอดจนความพร้อมของผู้ประกอบการด้วย
ตอบลบวันนี้ธุรกิจในประเทศไทยมีการรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน 20-30%ของทั้งประเทศ ซึ่งวันนี้ที่มีการประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แต่แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ไม่ได้ถูกปรับขึ้นตามไปด้วย จึงมีผลกระทบไม่มาก แต่สิ่งที่น่าจับตาต่อจากนี้ คือการเปิดประเทศของหลายๆ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า จุดนี้ก็อาจทำให้แรงงานพม่าบางส่วนย้ายกลับไปทำงานในประเทศของตน เรื่องนี้อาจมีผลต่อบริษัทไทยที่เน้นใช้แรงงงานต่างด้าวจำนวนมาก ก็จะมีความเสี่ยงไปด้วย เพราะเมื่อแรงงานต่างด้าวที่ค่าแรงน้อยกว่ามีน้อยลง บริษัทก็ต้องมองหาแรงงานไทย และต้องยอมรับกับต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
ตอบลบแม้ว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทจะส่งผลดีต่อการใช้จ่ายภายในระเทศ จากการที่กลุ่มแรงงานที่มีรายได้ต่ำที่ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมแนวโน้มจะจับจ่ายใช้สอยมากเมื่อมีระดับรายได้เพิ่มขึ้น แต่ทุกนโยบายก็มีข้อด้อยที่ผู้กำหนดนโยบายต้องพิจารณาเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลควรต้องหาแนวทางป้องกันผลกระทบต่อภาคการผลิต และแรงงานกันครับ
ตอบลบการปิดกิจการและปัญหาการเลิกจ้าง เนื่องจากนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ตอบลบการขึ้นค่าแรงดีแล้วเพราะอะไรเป็นการทำให้มีการเคลี่อนไหวหลายอย่างของการทำให้เกิดการเอาเปรียบค่าแรงมานานมากทำอย่างไรก็ขึ้นราคาอยู่ดีครับมันเป็การเพิ่มอำนาจกำลังซื้อลดต้นทุนแต่มีคนขวางอยู่ขนาดกลางก็มีผลเราต้องคำนึงถีงรายได้ของเรา
ตอบลบน่าจะมีมาตั้งนานแล้ว ก็แค่กำไรมันน้อยลง..............เคยคิดบ้างไหมว่าเสียแรงงานไปเท่าไร...........เพื่อสร้างกำไรให้พวกนักลงทุน.........คิดดีๆละกัน.......ถ้าทำงานแต่ค่าแรงไม่เพิ่มใครจะอยากทำ บางครั้งการเปลี่ยนแปลงก็ทำให้อะไรดีขึ้นแต่อาจต้องใช้เวลา
ตอบลบถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็ไม่ได้หลอกครับพอเพิ่มค่าแรงก็ขึ้นราคาของอยู่ดีครับเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากเกินไปนี้ถ้าขึ้ไปอีกจะขึ้นไปอีกครับ
ตอบลบผลด้านบวก
ตอบลบ1. ผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่ม ทำให้มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยหรือกำลังซื้อเพิ่ม
2.ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานที่มีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น เพื่อให้คุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
3.ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงาน ทั้งในระดับไร้ฝีมือ และมีฝีมือ ขณะที่อัตราการว่างงานโดยรวม ณ เดือน พ.ค. 2554 อยู่ในระดับ 0.7-0.8% ทำให้มีแนวโน้มที่จะต้องปรับเพิ่มค่าจ้างอยู่แล้ว
ผลด้านลบ ราคาสินค้าและบริการอาจสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่ม
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
มาตรการที่ต้องทำควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เช่น
การปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน เช่น ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือขนาดกลาง , SMEs ที่จำเป็นต้องใช้แรงงานกึ่งฝีมือหรือมีประสบการณ์
การจูงใจภาคธุรกิจในการปรับเพิ่มค่าแรง เช่น การลดภาษีรายได้นิติบุคคล (สำหรับ SMEs มักมีปัญหาไม่ได้เข้าสู่ระบบภาษีหรืออยู่ในภาวะขาดทุน) , การหักคืนภาษี (tax credit)
การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน อาจต้องจัดการอบรมแบบเฉพาะทางให้กับธุรกิจแต่ละสาขา (tailor-made) สำหรับลูกจ้างรายเดิม หรือการอบรมเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานของแรงงานรายใหม่
ผมว่าค่าแรงเราต่ำมากกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้รู้สึกว่าชีวิตเราราคาถูก ทั้งๆที่เราก็ทำงานได้ดีไม่น้อยกว่าใคร
ตอบลบคุณ Champ: งานนี้ก็เพื่อผู้ใช้แรงงาน/ผู้มีรายได้น้อย เป็นหลักละครับ
ตอบลบเพื่อคนที่ด้อยกว่าเราค่ะ ค่าครองชีพเราสูงกว่า พม่าและเวียดนามนะคะ
ตอบลบแพงทั้งแผ่นดิน แต่เค้าไม่คิดว่าแรงงานยอดฝีมือประสบการณ์ 10ปี กับ 1st day ก็จะได้ 300 เท่ากัน คนงานเก่าจะไม่มีอารมทำงาน หรือลาออกไปเลย และ คนงานใหม่ก็ไม่รู้สึกว่าจะต้องพัฒนาตัวเองไปทำไมได้เท่ากัน มันทำให้ระบบเสีย เพราะบริษัทไม่มีทางจะปรับทั้งระบบ เอาแค่พ้นกฏหมายละ
ตอบลบไม่เห็นประโยชน์ของนโยบายนี้เลยค่ะ ทุกอย่างได้ปรับราคาขึ้นรอไว้แล้วตั้งแต่ค่าแรงยังไม่ขึ้น และจะปรับเพิ่มอีกรอบเมื่อค่าแรงขึ้น เพราะต้นทุนที่สูงขึ้น ประกอบกับจะทำให้เกิดการจ้างงานที่ต่ำลบด้วย จะเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือเท่านั้น หรือมองในโลกความเป็นจริง แรงงานไทยอาจจะตายไปเลยก็ไดั เพราะแรงงานต่างชาติค่าจ้างทั้งถูกกว่าและคุณภาพดีกว่าค่ะ
ตอบลบการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนั้น ถือเป็นนโยบายที่ดีในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนนโยบายใดๆ อย่างฉับพลัน เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันให้ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ (Shock) ทั้งนี้ ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Smooth Adjustment) ย่อมจะดีกว่า Shock ในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น อุดหนุนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้ประกอบการทันทีในปีแรก และทยอยลดเงินอุดหนุนแบบขั้นบันได หลังจากที่ผู้ประกอบการปรับตัวได้ สนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน สนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร และการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานที่เข้มข้นให้ย้ายฐานการผลิตไปสู่เขตเศรษฐกิจชายแดนเพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน
ตอบลบปัจจุบันไทยมีตำแหน่งงานว่างอยู่ประมาณ 3 ล้านอัตรา หากแรงงานไม่เลือกงาน ก็เชื่อว่าปัญหาการว่างงานก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่หลังจากการปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำแล้ว แรงงานก็ต้องทำงานให้คุ้มค่า มีความขยัน และต้องหมั่นเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ
ตอบลบผมคิดถูกมั้ยหว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่ม ของต่างๆ ก็จะแพงขึ้น สำหรับคนได้ค่าจ้างไม่ถึง 300 อยู่แล้วก็ได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น แต่สำหรับคนได้เกิน 300 อยู่แล้ว จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ตอนนี้เห็นแต่เสียประโยชน์ เพราะค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ใครช่วยชี้แนะทีครับ
ตอบลบใจคอจะหากินกับการกดค่าแรงคนงาน ไปตลอดชาติหรือไง เจ้าของกิจการไม่คิดจะปรับตัวไปผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาสูงขึ้นหรือครับ จะได้คุ้มกับค่าแรงของแรงงานที่มีคุณภาพ ที่เกาหลีค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 150 บาท ย้ำอีกครั้ง ชั่วโมงละ 150 บาท คนเกาหล
ตอบลบีก็ยังอยู่กันได้ อย่างสุขสบายตามอัตภาพ ซึ่งปัจจุบันเกาหลีขาดแคลนแรงงาน ต้องจ้างแรงงานต่างชาติ ไทย เขมร เวียตนาม อินโด ไปทำงาน ประเทศเกาหลีก็ยังอยู่ได้ ฝากไว้ก่อนไป " ค่าครองชีพต่ำ นั่นหมายถึง คุณภาพชีวิตต่ำไปด้วยนะครับ " ลองคิดดูดีๆ
ค่าแรงจะสูงกว่า พม่า 9 เท่า
ตอบลบค่าแรงจะสูงกว่า เวียดนาม 3-4 เท่า
ยินดีกับ "พม่า" และ "เวียดนาม" ด้วยครับ
สำหรับ "โรงงาน" ที่จะไปตั้งอีกมากมาย ในเร็ว ๆ นี้
อยากให้กระชากค่าครองชีพแบบที่เคยหาเสียงด้วยครับ
ตอบลบโดยส่วนตัวผมชอบนโยบายที่มีแรงต้านเยอะๆ และมีกล้าที่จะเดินนโยบายนั้นได้ กล้าตัดสินใจ กล้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ผลเป็นอย่างไรผมขอให้ออกมาดีละกัน เพราะผมไม่แน่ใจว่าผลดีในระยะต่อไป จะเทียบได้กับผลเสียที่ดูกันผิวเผินรึป่าว
ตอบลบจากกรณีค่าจ้างแรงงานวันละ 300 บาท ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้าง ซึ่งเริ่มมีผลใน 7 จังหวัด ตามที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ นั้น แน่นอน ย่อมสร้างความปลาบปลื้มยินดีให้กับพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนไม่น้อย ที่อาจไม่สามารถอดทนรอกับการขึ้นอัตราค่าจ้างในลักษณะเป็นเปอร์เซ็นต์อีกต่อไปได้
ตอบลบแต่แน่นอน ความจริงแท้ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ ในซีกของฝ่ายนายจ้าง นโยบายค่าจ้าง 300 บาท น่าจะเปรียบเสมือนไม้ทิ่มแทงหัวใจของนายจ้างหลายราย ที่ต่างบ่นร้องออกมา แสดงความไม่เห็นด้วย คัดค้านโดยมองว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลให้นายจ้างเกิดความเดือดร้อน กำไรในกระเป๋าที่ต้องได้เท่าเดิมเป็นอย่างน้อยหรือควรต้องมากขึ้นทุกปี อาจจะต้องลดน้อยถอยลงไปบ้าง อะไรทำนองนั้น